หน้าหลัก  การออกแบบ  การเขียนแบบ  เครื่องมือเขียนแบบ  เส้นที่ใช้ในการเขียนแบบ  การเขียนภาพในงานเขียนแบบ  สัญลักษณ์ที่ใช้ในการเขียนแบบ
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

เครื่องมือเขียนแบบ
 

        เครื่องมือเขียนแบบ เป็นสิ่งจำเป็นของงานเขียนแบบ ซึ่งช่วยให้แบบมีความถูกต้องสมบูรณ์ฉะนั้นเราควรศึกษาประเภทของเครื่องมือเขียนแบบวิธีการใช้และการบำรุงรักษา

1.  กระดานรองเขียนแบบและโต๊ะเขียนแบบ


        
ที่มา : http://kruning.cocons.co.th/index.php/vocation/drawing/

        โต๊ะเขียนแบบใช้กับไม้ทีฉาก โต๊ะที่ใช้เขียนแบบ เป็นโต๊ะที่มีแผ่นพื้นเป็นสี่เหลี่ยมมีผิวเรียบมีขอบด้านข้างทั้ง4 ด้าน เรียบเป็นมุมฉาก สามารถปรับเอียงได้ 1 ด้าน
การบำรุงรักษา
       ควรรักษาผิวและบริเวณขอบโต๊ะไม่ให้มี
รอยและสิ่งสกปรก พร้อมทั้งต้องได้ฉากอยู่เสมอโต๊ะเขียนแบบแบบรางเลื่อนมีอุปกรณ์ปรับองศาเป็นโต๊ะที่มีความมั่นคงและมี อุปกรณ์การเขียนแบบอยู่บนโต๊ะ โดยไม่ต้องนำไม้ที และฉากมาใช้ประกอบ

2. ไม้ที (T-Square) 


ไม้ที
ที่มา : http://kruning.cocons.co.th/index.php/vocation/drawing/

มีส่วนประกอบ 2 ส่วน คือ ส่วนหัว และส่วนใบ ส่วนใบจะมีสเกล บอกขนาดอยู่ตรงบนส่วนใบของไม้ที
การใช้งาน 

ใช้เขียนเส้นในแนวระดับโดยวางไม้ทีให้หัวไม้ทียึดติดแน่นกับขอบโต๊ะด้านข้างซ้ายมือส่วนใบไม้ทีวางอยู่บนโต๊ะส่วนหัว


ทีสไลด์
ที่มา : http://kruning.cocons.co.th/index.php/vocation/drawing/

        ทีสไลด์ เป็นเครื่องมือที่ใช้ทำงานในลักษณะเดียวกับไม้ที สามารถนำมาประกอบกับโต๊ะเขียนแบบ หรือกระดาษเขียนแบบได้ ใช้หลักการทำงานของเชือกและรอกมีความสะดวกรวดเร็วและมีความขนานเที่ยงตรงกว่าไม้ที
 
การบำรุงรักษา
ควรรักษาขอบไม้ทีที่สัมผัสกับโต๊ะเขียนแบบ และขอบด้านบนให้เรียบไม่มีรอยโค้งเว้า หรือไม่สม่ำเสมออย่าให้สกรูที่ยึดบริเวณหัวไม้ทีและใบไม้ทีคลายตัว จะทำให้ไม้ทีไม่ได้ฉาก

3. ฉากสามเหลี่ยม (Set-Square)


ที่มา : http://kruning.cocons.co.th/index.php/vocation/drawing/

ฉากสามเหลี่ยม แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ ฉากสามเหลี่ยมมุมคงที่แบ่งออกเป็น 2 แบบ ดังนี้ แบบมุม 45 องศา 45 องศาและ 90 องศา มุม 30 องศา 60 องศา และ 90 องศา - ฉากสามเหลี่ยมแบบมุมคงที่สามารถใช้เขียนเส้นทำมุม 15 องศา 30 องศา 45 องศา 60 องศา 75 องศา และ 90 องศาโดยใช้ฉากทั้งสองชิ้นมาประกอบกัน
การใช้งาน
 
 
ฉากสามเหลี่ยมแบบปรับองศาได้ สามารถปรับมุมได้ตาม  ความต้องการใช้งานใช้เขียนเส้นในแนวดิ่งและเส้นในแนวเอียงทำมุมใช้คู่กับไม้ที
วิธีการสร้างมุมต่างจากฉากแบบคงที่   ฉากสามเหลี่ยมแบบมุมคงที่สามารถใช้เขียนเส้นทำมุม 15องศา 30 องศา 45 องศา 60 องศา 75 องศา และ 90 องศาโดยใช้ฉากทั้งสองชิ้นมาประกอบกัน

ฉากที่ปรับองศาได้

ฉากที่มีมุม 45, 45, 90

ฉากที่มีมุม 30, 60, 90

ที่มา : http://kruning.cocons.co.th/index.php/vocation/drawing/

4.   กระดาษเขียนแบบ  (Drawing paper)


ที่มา : http://kruning.cocons.co.th/index.php/vocation/drawing/

ขนาดของกระดาษเขียนแบบ

มาตรฐานกระดาษ

ขนาดกระดาษ (มม.)

พื้นที่เขียนแบบ (มม.)

A0

841 x 1189

831 x 1179

A1

594 x 841

584 x 831

A2

420 x 594

410 x 584

A3

297 x 420

287 x 410

A4

210 x 297

200 x 287

A5

148 x 210

138 x 200

A6

105 x 148

95 x 138

ที่มา : http://kruning.cocons.co.th/index.php/vocation/drawing/

การใช้งาน   ติดกระดาษให้แน่นลงบนโต๊ะเขียนแบบด้วยเทปกาววางกระดาษเขียนแบบโดยให้ขอบบนขนานกับไม้ที
การบำรุงรักษา   อย่าทำให้กระดาษเขียนแบสกปรก หรือพับให้มีรอยย่น 

5.  ดินสอเขียนแบบ (Drawing Pencil)

clip_image036.jpg   clip_image037.gif
ที่มา : http://kruning.cocons.co.th/index.php/vocation/drawing/

ดินสอเปลือกไม้มี 3 เกรด คือ  H, HB และ B
ดินสอเปลี่ยนไส้ (ดินสอกด) มีขนาด 0.25 mm., 0.35 mm.,  0.5 mm 
แต่ที่นิยมใช้ในงานเขียนแบบเทคนิคเบื้องต้น คือ  0.5 mm.
 
ดินสอที่ใช้ในการเขียนแบบจะถูกแบ่งออกเป็นเกรดตามความอ่อนแข็งของไส้ดินสอคือ
1.      ดินสอไส้อ่อน  เกรดที่ใช้คือ  2B  3B  4B  5B  6B  7B
2.      ดินสอไส้ปานกลาง  เกรดที่ใช้คือ  B  HB  F  H  2H   3H
5.      ดินสอไส้แข็ง  เกรดที่ใช้คือ  4H  5H  6H  7H  8H  9H

         ในการเขียนแบบนั้น ช่างเขียนแบบจะต้องมีดินสอหลายแท่ง  แต่สำหรับนักเรียนให้ใช้ดินสอนไส้ปานกลางเพียงแท่งเดียวก็พอ คือ เกรด HB  การจับดินสอควรให้จับดินสอเอียง 60 องศาและควรหมุนดินสอไปด้วยเล็กน้อยขณะที่ขีดเส้น เพื่อเส้นจะได้คมและเสมอกันโดยตลอด 

การจับดินสอควรให้เอียง 60 องศา

มีดที่ใช้สำหรับเหลาดินสอนั้นนักเรียนสามารถซื้อได้ในราคาที่ไม่สูงนัก เมื่อใช้แล้วก็ควรใช้ผ้าเช็ดส่วนที่เป็นเหล็ก เพื่อไม่ให้เกิดสนิม

ที่มา : http://kruning.cocons.co.th/index.php/vocation/drawing/

การใช้งาน  
ควรเลือกใช้ดินสอให้เหมาะสมกับมาตรฐานในงานเขียนแบบ   กรณีที่ใช้ดินสอเหลา ควรเหลาไส้ให้มีปลายแหลมอยู่ตลอดเวลา ไม่ควรใช้ดินสอเหลาที่มีขนาดสั้นมาก ๆ จนจับดินสอไม่ได้
การบำรุงรักษา

ไม่ควรนำดินสอเคาะลงบนโต๊ะ หรืออุปกรณ์ชนิดอื่น ๆ จะทำให้ไส้ดินสอหักได้ ควรเลือกใช้ดินสอที่ได้มาตรฐาน เมื่อเวลาเขียนแบบไส้ดินสอจะได้ไม่หักบ่อย

6. ยางลบดินสอ (Perneil erases)

clip_image038_2.jpg

   ยางลบมีหลายประเภทแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือยางลบหมึก ยางลบดินสอ
   การใช้งาน  ใช้ลบเส้นในงานเขียนแบบที่เกิดจากการเขียนผิดพลาด  ควรเลือกใช้ยางลบที่มีคุณภาพดี มีความอ่อนนุ่ม สามารถลบ    รอยดินสอที่ไม่ต้องการออกได้ง่ายโดยที่แบบสะอาด กระดาษไม่ซ้ำและไม่ขาด
   การบำรุงรักษา  
   ควรรักษายางลบให้มีสีขาวตลอดเวลา ไม่ควรให้มีรอยดินสอ สิ่งสกปรกติดอยู่บนยางลบ

7.  ปากกาเขียนแบบ



ที่มา : http://kruning.cocons.co.th/index.php/vocation/drawing/ 

ปากกาเขียนแบบใช้สำหรับการเขียนแบบลงในกระดาษไข ลักษณะเป็นปากกาหมึกซึม เส้นที่เขียนจะได้ความหนาของเส้นตามมาตรฐาน มีหลายขนาดตั้งแต่ 0.13, 0.18, 0.25, 0.35, 0.5, 0.7, 1.0, 1.4 และ 2 .0 มีหน่วยเป็นมิลลิเมตร เช่น ปากกาเบอร์ 0.5 เมื่อเขียนเส้นแล้วจะได้เส้นที่มีความหนา 0.5 มม.

8. สก๊อตเทปใสสำหรับติดกระดาษ


ที่มา : http://kruning.cocons.co.th/index.php/vocation/drawing/

ใช้สำหรับติดมุมกระดาษ เพื่อไม่ให้กระดาษเลื่อนและสะดวกในการเขียนแบบ

9. วงเวียน (Compasses)

  
ที่มา : http://kruning.cocons.co.th/index.php/vocation/drawing/

วงเวียนมีอยู่หลายแบบ เช่นใช้กับดินสอได้อย่างเดียว ใช้ กับดินสอและปากกาได้ภายในอันเดียว
การใช้งาน
  ใช้สำหรับเขียนส่วนโค้ง วงกลหรือถ่ายขนาดในกรณีที่ใช้ ไม้บรรทัดวัดไม่ได้ใช้มือขวาจับเพียงหัววงเวียน  และใช้ปลายแหลมปักจุดศูนย์กลาง  ส่วนปลายที่มีดินสอใช้ในการเขียนวงกลม  หรือส่วนโค้ง
การบำรุงรักษา   ควรตรวจสอบวงเวียนก่อนใช้งานในบริเวณจุดหมุนควรยึด แน่นไม่หลวม และคลอนใส้ดินสอที่ใช้กับวงเวียนควรเลือก หรือเหลาให้ได้ตามมาตรฐานเส้นในงานเขียนแบบ

10. บรรทัดโค้ง (Irregular Curves)


ที่มา : http://kruning.cocons.co.th/index.php/vocation/drawing/

บรรทัดโค้งมีหลายแบบ  ซึ่งจะมีเป็นชุดกับฉากสามเหลี่ยม และแบบที่ไม่ได้ประกอบกับฉากสามเหลี่ยมเรียกว่ากระดูกงู (Flexibie Curves) เป็นบรรทัดที่อ่อนสามารถดัดให้โค้งเป็นรูปต่างๆได้ตามต้องการ
การใช้งาน 
  ใช้สำหรับเขียนเส้นโค้งที่วงเวียนไม่สามารถเขียนได้เลื่อนบรรทัดโค้งตามไปครั้งละ 3 จุดจนกว่าจะได้รูปตาม  ต้องการเลือกใช้บรรทัดโค้งให้เหมาะสมกับส่วนโค้งใช้เขียนเส้นโค้งทับจุด ที่ทำการจุดไว้ให้ได้อย่างน้อย3 จุดแล้วเขียนเส้นผ่านตามจุดตามที่กำหนดไว้
การบำรุงรักษา   ควรรักษาขอบของบรรทัดโค้งไม่ให้มีรอยโค้ง เว้า หรือสิ่งสกปรกบนบรรทัดโค้ง

11. แผ่นเพลท (Tem Plates)


ที่มา : http://kruning.cocons.co.th/index.php/vocation/drawing/

การใช้งาน   ใช้เขียนวงกลม และวงรีที่มีขนาดไม่ใหญ่ ใช้เขียนอักษรในกรณีลายมือผู้เขียนไม่สวย
การบำรุงรักษา   ควรรักษาขอบเพลทวงกลมวงรีไม่ให้มีรอยโค้งเว้า หรือ  สิ่งสกปรกบนบรรทัดโค้ง

12. เครื่องมือวัดขนาด (Measuring Size Instrument)


แบบสามเหลี่ยม
ที่มา : http://kruning.cocons.co.th/index.php/vocation/drawing/

 เป็นเครื่องมือวัดขนาดมี 2 มาตราส่วนคือ มาตราส่วนอังกฤษ หน่วยระยะความยาวเป็นนิ้วฟุต และมาตราส่วนเมตริก มีหน่วยความยาวเป็น มิลลิเมตร เซนติเมตร แต่ในงานเขียนแบบในปัจจุบันจะใช้ระบบเมตริก ซึ่งมีหลายแบบ เช่น บรรทัดสามเหลี่ยม บรรทัดตรง และบรรทัดโค้ง
การใช้งาน
   ใช้วัดขนาดความยาวตาม มาตราส่วนที่กำหนดอยู่  บรรทัดแต่ละด้าน จะมีมาตราส่วน    1:20, 1:25, 1:50, 1:100, 1:75, 1:125 กำหนดอยู่

บรรทัดวัดระยะแบบแบน
ที่มา : http://kruning.cocons.co.th/index.php/vocation/drawing/

การใช้งาน   บรรทัดวัดระยะแบบแบนใช้สำหรับวัดขนาดตามมาตราวัด ระบบอังกฤษ และเมตริก  ด้วยอัตราส่วน 1:1

13. บรรทัดโค้ง


ที่มา : http://kruning.cocons.co.th/index.php/vocation/drawing/

การใช้งาน  ใช้วัดความเอียงของเส้นเช่นเอียงซ้าย30 องศาเอียงขวา 60 องศาเครื่องมือวัดขนาดมี  2 มาตรส่วน  มาตรส่วนอังกฤษหน่วยระยะความยาวเป็นนิ้วฟุต  มาตรส่วนเมตริก มีหน่วยความยาวเป็นมิลลิเมตร เซนติเมตร ปัจจุบันจะใช้ระบบเมตริก 
วิธีบำรุงรักษา
-  
ควรรักษาอย่าให้ขอบของเครื่องมือวัดมีรอยโค้งเว้า และสิ่ง สกปรกบนเครื่องมือวัด
 ควรรักษาอย่าให้ขอบของเครื่องมือวัดมีรอยโค้งเว้า และสิ่ง สกปรกบน
เครื่องมือวัด
ควรรักษาอย่าให้ขอบของเครื่องมือวัดมีรอยโค้งเว้า และสิ่ง สกปรกบน เครื่องมือวัด
ควรรักษาสเกลบนเครื่องมือวัด   อย่าให้ลบ   หรือลอกหายไปจาก
เครื่องมือวัด

campchair_blue_1_1.gifcampchair_blue_1_1.gifcampchair_blue_1_1.gifcampchair_blue_1_1.gifcampchair_blue_1_1.gif

                         daisynext_2.gif

กลับไปหน้าการเขียนแบบ              กลับไปหน้าเครื่องมือเขียนแบบ